วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สัมมาทิฏฐิ ในการปฏิบัติธรรม

หนังสือ สัมมาทิฏฐิในการปฏิบัติธรรม โดย ชมรมกัลยาณธรรม
ผู้แต่ง พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

จัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทาน ในงานกฐินสามัคคีประจําปี ๒๕๕๙ ณ สถานปฏิบัติธรรมป่าวิเวกสิกขาราม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น อาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

คําอนุโมทนา
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ มูลเหตุแห่งการไม่บรรลุธรรม เพราะไม่ได้คบสัตบุรุษ หรือพระอริยะ  ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคําชี้แนะธรรมของสัตบุรุษ พระองค์ตรัสเช่นนี้เพราะอะไร เพราะการได้คบสัตบุรุษ จะได้ฟังธรรมและคําชี้แนะของท่าน ซึ่งเป็นสัจธรรมความจริง เมื่อเราได้ตั้งสติลงฟังแล้วนําไปพิจารณา ก็ จะเห็นความจริงในสิ่งที่ท่านแสดง

การเห็นความจริงจะเป็นเหตุให้ความเห็นเรานั้น เปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิไปสู่สัมมาทิฏฐิ เมื่อจิตนั้นมี สัมมาทิฏฐิ ก็จะมีความคิดชอบ สัมมาสังกัปปะ ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เมื่อคิดชอบก็จะพูดชอบ กระทําทาง กายชอบ เรียกว่ากุศลกรรมทางใจ ทางวาจา ทางกาย หรือเรียกว่ามโนสุจริต วจีสุจริต กายสุจริตนั่นเอง อันนี้ เป็นองค์มรรคที่จะนําเราไปสู่ความพ้นทุกข์ เหตุนั้นการ ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้ผลหรือเนิ่นช้า ก็เพราะเรา ไม่ได้เจริญสัมมาทิฏฐิให้เกิด

เหตุนั้นการปฏิบัติธรรมจะก้าวหน้า เราจะต้องมี สัมมาทิฏฐิในการปฏิบัติธรรม ซึ่งชมรมกัลยาณธรรม ได้นิมนต์อาตมามาแสดง และมีกุศลเจตนาที่จะพิมพ์ บทพระธรรมเทศนานี้เผยแผ่ จึงขออนุโมทนาชมรม กัลยาณธรรม ทีมงาน และท่านทั้งหลายที่มีส่วนร่วมใน ครั้งนี้ ขอให้สัมฤทธิผลดังความมุ่งหวัง และพ้นจาก กองทุกข์ทั้งปวง

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙

คํานําของชมรมกัลยาณธรรม 
จากงานแสดงธรรม ปฏิบัติธรรม เป็นธรรมทาน ครั้งที่ ๓๒ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล กรุงเทพ ร่วมกับ ชมรมกัลยาณธรรม ในวัน อาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา พวกเราได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ จากสถาน ปฏิบัติธรรมป่าวิเวกสิกขาราม อ.พล จ.ขอนแก่น เมตตา แสดงธรรม เรื่อง สัมมาทิฏฐิในการปฏิบัติธรรม ซึ่ง พระอาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ธรรมตั้งแต่ครั้งยังเป็น นักศึกษาแพทย์ การดําเนินตามครรลองของธรรมด้วย ความเพียรและศรัทธาในครูบาอาจารย์ รวมทั้งสนใจใฝ่รู้ จริงจัง ด้วยการแสดงธรรมที่ตรงไปตรงมา ถูกตรงตาม สัจธรรม ทําให้ผู้มีบุญได้ฟังธรรมวันนั้น ต่างเข้าใจถึง แผนที่ทางเดินแห่งอริยมรรค อันเป็นทางดําเนินอัน ประเสริฐไปสู่ความพ้นทุกข์
ขอขอบพระคุณที่พระอาจารย์อนุญาตให้นําธรรม อันทรงคุณค่ามาขยายผลเป็นหนังสือ และได้สละเวลา ตรวจทานเนื้อหาให้แล้ว และในโอกาสงานกฐินสามัคคี ประจําปี พ.ศ.๒๕๕๙ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ พวกเราจึงร่วมใจกันจัดพิมพ์หนังสือนี้ เพื่อแจกเป็น ธรรมทาน ถวายเป็นพุทธบูชา และน้อมถวายเป็น อาจริยบูชา แด่ท่านพระอาจารย์ รวมถึง น้อมถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระผู้เป็นดังดวงใจ ธ สถิตในดวงใจของปวงชนชาวไทย ซึ่งได้เสด็จสวรรคต สู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ที่ผ่านมา
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญทุกท่าน


ธรรมบรรยาย เรื่อง สัมมาทิฏฐิในการปฏิบัติธรรม เทศน์ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บพิตรพิมุข มหาเมฆ
จัดโดย มทร.กรุงเทพ ร่วมกับ ชมรมกัลยาณธรรม
วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙


เจริญพร ท่านอธิการบดี ชมรมกัลยาณธรรม และพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นโอกาสวันหนึ่งที่อาตมา จะได้มาแสดงธรรม เพื่อเสริมสติปัญญาให้แก่พุทธบริษัท ที่สนใจ การฟังธรรมนั้นให้ตั้งสติระลึกลงฟัง ให้สมาธิ ตั้งมั่นลงการฟัง ไม่ต้องไปบริกรรมหรือไปมุ่งต่อความสงบ ให้มีสติสมาธิอยู่ที่การฟัง เนื้ออรรถธรรมที่แสดงไป แต่ละ ขณะแต่ละประโยค พิจารณาอยู่ตรงนั้น จะเข้าใจในสิ่งที่ ผู้แสดง

ในมูลปริยายสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มูลเหตุแห่งการไม่บรรลุธรรม เพราะไม่ได้คบสัตบุรุษ หรือพระอริยะ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษหรือพระอริยะ ไม่ได้รับคําชี้แนะธรรมของสัตบุรุษหรือพระอริยะ จึงเป็นมูลเหตุหนึ่งที่จะไม่ได้บรรลุธรรม เหตุนั้นการฟังธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จําเป็นสําหรับผู้ที่เริ่มประพฤติปฏิบัติใหม่ อุปมา เหมือนเด็ก เวลาเด็กเกิดมานั้น ไม่สามารถที่จะเลี้ยง ตัวเองได้ แม้แต่จะกินนมก็ต้องอาศัยพ่อแม่หรือพี่เลี้ยง ต้องอาศัยผู้อื่นก่อน ผู้ปฏิบัติธรรมที่ยังไม่มีหลักฐาน มั่นคงก็เหมือนเด็กอ่อน ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตร คือ สัตบุรุษนั้นเป็นทางเดินไปก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ กัลยาณมิตร เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ผู้ที่มีกัลยาณมิตรก็เท่ากับผู้นั้น ได้เดินมรรค ๘ ทําไมถึงกล่าวเช่นนั้น เพราะการที่เราได้ พบกัลยาณมิตร ได้พบสัตบุรุษ เราจะได้รับฟังความรู้ ความเห็นที่ถูกต้องที่ท่านแสดงออกมา ความรู้ความเห็น ที่ถูกต้องนั้นมันเป็นเหตุปัจจัย เมื่อเราตั้งสติลงฟัง ตั้ง สมาธิลงฟัง พินิจพิจารณาเนื้ออรรถธรรมนั้น เห็นแจ้ง ความจริงในเนื้ออรรถธรรมนั้น มันจะเปลี่ยนความเห็น ผิดไปสู่ความเห็นถูก เรียกว่าสัมมาทิฏฐิมันเกิด เมื่อ สัมมาทิฏฐิมันเกิดในเบื้องต้น มันก็จะไปสู่คําว่าสัมมา สังกัปปะ คือความดําริชอบ ไปสู่สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คือความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความ ตั้งใจมั่นชอบ

บางพระสูตรกล่าวไว้แค่ ๕ ทําไมท่านกล่าวไว้ ๕ เพราะมโน ใจนั้นเป็นมหาเหตุ กายกรรม วจีกรรม มาจากมโนกรรม เมื่อมโนกรรมเป็นกุศล กายกรรม วจีกรรมก็เป็นกุศล เมื่อมโนกรรมเป็นอกุศล กายกรรม วจีกรรมก็เป็นอกุศล เพราะนั้นบางพระสูตรจึงพูดแค่ ๕ ละ ๓ไว้ในฐานที่เข้าใจ ทีนี้ถ้าจิตนั้นประกอบด้วย สัมมา ทิฏฐิ เห็นชอบก็ดําริชอบ ดําริชอบคือคิดชอบนั่นเอง เมื่อดําริชอบแล้วก็ออกไปพูดชอบ เรียกว่า สัมมาวาจา ไป กระทําทางกายชอบ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ไปเลี้ยงชีพ ชอบคือ สัมมาอาชีวะ เหตุนั้นมหาเหตุคือใจ เราต้องอบรม ใจนั้นให้มีวิชชา มีสัมมาทิฏฐิเกิด ถ้าสัมมาทิฏฐิเกิดแล้ว มันจะเป็นเหตุในการที่เราจะต่อเนื่องไปถึงซึ่งความพ้น ทุกข์นั่นเอง ถ้ามิจฉาทิฏฐิเกิด จิตนั้นก็จะเป็นอกุศล ก็ ไม่สามารถที่จะสัมฤทธิ์ผลที่เราต้องการได้

ทําไมเราต้องปฏิบัติธรรม
ทีนี้ย้อนกลับมา ทําไมเราต้องปฏิบัติธรรม เราไม่ ปฏิบัติธรรมได้ไหม ปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของนักบวช เรา เป็นฆราวาส เราไม่ต้องทําได้ไหม อันนี้อาตมาก็จะ ทัศนะให้ฟัง เวลาเราต้องทํางาน เมื่อเราต้องทํางานนี้ ถ้าเราไม่รู้เรื่องงานนั้น การทํางานนั้นจะมีปัญหาอุปสรรค เกิดไหม โยมว่ามันเกิดไหม มันเกิด เกิดเพราะเราไม่รู้ เรื่องงานนั้นเลย ที่นี้คนฉลาดต้องทําอย่างไรเมื่อต้องทํางาน คนฉลาดก็ต้องไปศึกษาหาความรู้ในกิจการงานที่ตัวเอง ต้องทํา ยิ่งรู้แจ้งเท่าไร ประโยชน์ก็จะเกิดมากเท่านั้น อุปสรรคก็จะน้อยลง ปัญหาก็จะน้อยลง ฉันใดฉันนั้น พวกเรานั้นอยู่กับกายใจนี้มาตั้งแต่เกิดจนตาย หรือพูด ง่ายๆ สั้นๆ หน่อย ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงลงนอน แต่เรา ไม่รู้เรื่องของกายใจเราเลย เราไปรู้แต่เรื่องข้างนอก ไปรู้ แต่วิชาการภายนอก ไม่รู้วิชาการภายในกายใจตัวเอง เมื่อ เราไม่รู้ ปัญหาจะเกิดอะไร โยมว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น มัน ก็เกิดความทุกข์ใจเกิดขึ้นนั่นเอง ความทุกข์ใจนั้นเป็น ผลจากความไม่รู้แจ้งในกายใจเรา
เหตุนั้นผู้ที่ฉลาดก็ต้องแก้ปัญหาตรงนี้ คือการ ศึกษาให้เห็นแจ้งในกายใจตนเอง ปัญหาจึงจะไม่เกิด เรา เหมือนบุคคลที่ถูกบังคับให้ทํางานตั้งแต่ตื่นนอนถึงลงนอน โยมว่าจริงไหม เพราะโยมไม่สามารถจะหนีจากกายใจนี้ได้ ถ้ามีความรู้สึกตื่นขึ้นมาเมื่อไร โยมก็ต้องรู้กับมันอยู่ตลอด อยู่กับมันตลอด ถ้าเราไม่รู้แจ้งตรงนี้ เราก็จะมีความ ทุกข์นั่นเองเป็นผล เหตุนั้นผู้ที่มีความฉลาด ผู้ที่ศึกษา ในตัวเอง เห็นเหตุอย่างนี้ ก็จึงจําเป็นต้องมาสมมติว่า ปฏิบัติธรรมนั่นเอง มาศึกษาให้รู้เรื่องกายใจตนเองให้ ถ่องแท้ เมื่อถ่องแท้แล้ว ผลคือความทุกข์ก็จะน้อยลง ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ การปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของ นักบวช การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ผู้ เกษียณอายุ การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้ชาย หรือผู้หญิง การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นเรื่องของทุกคนที่มี กายใจนี้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ว่านักบวชหรือฆราวาส เป็นเรื่องของทุกคนที่มีกายใจนี้ เหตุนั้นถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ มันก็จะหมดปัญหา

ซึ่งสมัยก่อนเราก็จะได้ยินคนรุ่นก่อนบอกเราว่า แก่ก่อนค่อยเข้าวัด แก่ก่อนค่อยปฏิบัติธรรม อันนี้ก็จะ เป็นมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นที่ผิดอันหนึ่ง เพราะอะไร เพราะแก่น่ะไม่ควรเข้าวัด เพราะเวลามันจะตายมันเหลือ น้อยแล้ว เข้าวัดแล้วประโยชน์มันได้น้อย ยกตัวอย่าง อย่างอีกวันหนึ่งพรุ่งนี้จะตายนี่ เข้าวัดไปมันได้ประโยชน์ น้อย มันได้ประโยชน์แค่วันเดียว แต่ถ้าเข้าวัดตั้งแต่เด็กนี่ มันยังอยู่อีกหลายปี มันได้ประโยชน์มากกว่า อันนี้พูด จริงๆ แล้วทุกคนนั่นล่ะต้องเข้าวัด เข้าวัดคือวัดจิตวัดใจ ตนเอง เข้ามาศึกษาในจิตใจตนเองนั่นเอง

เพราะฉะนั้น ไม่ว่านักบวช ไม่ว่าฆราวาส ทุกคนก็ต้องสนใจในจุดนี้ ถ้าไม่ต้องการให้ปัญหามันเกิด เพราะนั้นปฏิบัติธรรมนั้น มันเป็นสิทธิเสรีภาพเสมอกัน ไม่ว่านักบวชหรือฆราวาส มันเป็นสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าหญิงหรือชาย มีความเท่า เทียมกันหมด ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่เท่าเทียมกันหมด แต่ ผู้ใดจะเห็นธรรมรู้ธรรมนั้น ก็ขึ้นกับผู้นั้นปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมหรือไม่ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นก็จะรู้เห็นเข้าใจในธรรมนั้น ความทุกข์มันก็จะลดลง นั้นเอง ไม่ได้ขึ้นกับผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ได้ขึ้นกับเด็ก หรือคนแก่ ไม่ได้ขึ้นนักบวช มีสิทธิเสมอกันหมด

อันนี้เป็นเบื้องต้นว่าทําไมต้องปฏิบัติธรรม อาตมา สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ไม่รู้คําว่าปฏิบัติธรรม รู้แต่ว่า เขาติดบอร์ดไว้ว่าฝึกสมาธิ ก็อยากรู้ว่าสมาธิเป็นอย่างไร เวลาเขาพูดแล้วเราจะได้รู้ เขาโกหกเราไม่ได้ คิดแค่นั้น ก็เลยสมัครไปกับเขา ศีล ๘ ก็ไม่รู้จัก พอไปปฏิบัติแล้ว มันแก้ทุกข์ใจเราได้ ที่ปฏิบัติมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการ อะไรเลยนะ แก้ทุกข์ใจตัวเองไปวันๆ เท่านั้นก็พอใจแล้ว นี่มันก็เลยต้องปฏิบัติมาตั้งแต่อายุ ๒๐ จนถึงอายุ ๕๐ กว่า เพราะมันต้องแก้ปัญหาในใจเราตลอด นี่ นี้เป็นมูลเหตุ ที่ปฏิบัติ ไม่ได้ปฏิบัติเพราะอยากได้อะไรเลย แล้วก็ไม่ ได้ปฏิบัติเพราะเหตุนั้นเหตุนี้ แต่ที่ปฏิบัติเพราะเห็นมัน แก้ทุกข์ใจเราได้เป็นลําดับไป

ทีนี้สมัยก่อนนั้นเราไปปฏิบัติธรรม เราไม่มีความรู้ อะไร สติยังไม่รู้จักเลยนะ จําคําเดียวกลับมาจากวัด ได้คําว่าพุทโธ จําได้คําเดียว ไม่รู้จัก เมื่อไม่รู้จัก ทําไป แล้วปัญหามันเกิดก็ไม่รู้จะถามใคร ก็เลยพึ่งครูอาจารย์คือหนังสือ แต่ที่นี้หนังสือที่จะเอามาอ่าน เราก็ไม่มี ความรู้อีกว่าใครเขียนผิดเขียนถูก ก็อาศัยครูบาอาจารย์ ที่เชื่อว่าท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สายปฏิบัติเอามาอ่าน ตรงไหนมันจะถูกต้องตรงกับที่เราสงสัยบ้าง นี่อาศัย อย่างนั้น มันก็เลยเป็นความลําบาก กว่าจะได้เข้าใจ แต่ละเรื่องก็ต้องหาเอง ต้องลองผิดลองถูกเองหมด

ทําอย่างไร มันก็ต้องลองไปเรื่อยๆ จะทําสมาธิให้ มันสงบ ทําอย่างไรก็ต้องลองผิดลองถูก จะนั่งอย่างไร ขาขวาทับขาซ้าย นั่งท่าไหนมันจะทรงสมส่วนก็ต้องลอง ลองเป็นเดือน ลองผิดลองถูกมาตลอด การปฏิบัติศีล จะปฏิบัติอย่างไรก็ลองอีก จําได้อย่างเดียวท่านสอนว่า ศีล คือศิลา ศีลคือปกติ ศีลรักษาที่เจตนา นี่หลวงปู่เทสก์ ท่านเทศน์ ก็เลยเอามาลองอีก เอาสติสัมปชัญญะมา รักษาเจตนา ตั้งเจตนาจะไม่ผิดโทษ ๕ อย่าง อันนี้ฝึก เวลาจะพูด ถ้าพูดผิดก็จะเตือนตนเอง ว่าครั้งต่อไปที่ พูดจะไม่ให้ผิด เตือนตนเอง เวลาลุกเดินก้าวเดิน ถ้า ก้าวซ้ายหรือขวาออกก่อนไม่รู้ตัว ก็จะเตือนตัวเองอีกว่า ครั้งต่อไปที่ก้าวเดินจะต้องรู้ว่าซ้ายหรือขวาออกก่อน นี่ อันนี้เตือนตัวเองอยู่อย่างนี้ ฝึกอยู่อย่างนี้ ฝึกอยู่ใน สมัยเป็นนักศึกษา

ที่มหาวิทยาลัยไม่มีทางจงกรม มีแต่หอพัก จงกรม ก็คือเมื่อไรที่ก้าวเดินออกไปก็ให้รู้ตัวว่าซ้ายหรือขวาออก จงกรมคือฝึกแบบนี้ ไม่ได้กลับไปกลับมา เวลามันคิดมาก ก็ไม่รู้จะทําอย่างไร จะให้มันหยุดคิดอย่างไร ก็ไม่ห้าม มันคิด เวลามันคิดขึ้นมาก็ไม่ห้ามมันคิด เอาความ สนใจเอาสติไปอยู่ในอิริยาบถ เวลาเดินก็ให้ไปสนใจที่เท้า การสนใจที่เท้าไม่ได้สนใจเพื่อห้ามไม่ให้มันคิด แต่ให้ สติไปอยู่ในการเคลื่อนไหว ระลึกการเคลื่อนไหว ฝึกอยู่ อย่างนี้ เผลอแล้ว แล้วไประลึกได้เอาใหม่ เผลอแล้ว แล้วไประลึกได้เอาใหม่ ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับความเผลอ ถ้ารู้ตัวเมื่อไรก็ระลึก เผลอเมื่อไรก็รู้ เมื่อรู้ว่าเผลอก็ ตั้งใจระลึกใหม่ เวลาว่างก็อาบน้ําอาบท่าดีๆ แล้ว ๕ โมง เย็นก็นั่ง นั่งก็ไม่นั่งมาก ๓๐ ถึง ๔๕ นาที ๕๐ นาที่ นั่ง อย่างนี้ทุกวัน ถ้าตอนเช้าไม่ได้เรียนก็ ๙ โมงเช้าอีกรอบ ทําอย่างนี้

ทีนี้เวลาทําอย่างนี้นี่ เวลาเราเดินไปนี่ เดินไปแล้ว มันแปลก มันมีเหมือนอะไรนี่ อย่างเราปวดหัวอยู่นี่ มัน หลุดออกไป กําลังก้าวเดินอยู่นั่นมันหลุดออกไป มัน เห็นสภาวะที่ปวดหัวมันหลุด มันหลุดออก ที่นี้ปวด หัวมันหลุดออก วันรุ่งขึ้นมันก็สอนอีก มันไปนึกถึงสิ่งที่ เราเคยทําผิด มันก็คิดตําหนิตัวเอง พอคิดตําหนิตัวเอง มันก็ปวดหัว เส้นเลือดอยู่ที่ขมับมันก็เต้นตุ้บๆๆ  ความปวดหัวมันก็ไปตามที่เส้นเลือดมันเต้นไป แต่มันมี ตัวหนึ่งนะที่มันดูอยู่ตลอด ตัวนี้มันดูอยู่ตลอด แล้วมัน ก็มีตัวหนึ่งมันผุดขึ้นมา บอกว่าขึ้นคิดต่อไปเป็นบ้า ฮี มันบอกอย่างนี้ ไอ้ปวดหัวมันก็เลยดับไปหมด มันก็เลย ไม่ปวดหัวอีกเลย ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นเจ็บ ป่วยทางกาย

อันนี้ฝึกที่แรกทําอย่างนี้ มันสอบอารมณ์ มัน บอกด้วยว่ามันเกิดอะไร ตอนนั้นยังเรียน Pre-Clinic อยู่ พอไปเรียนแพทย์แล้วจึงรู้ว่า ไอ้ปวดหัว พวก Neurosis ทั้งหลาย พวกโรคประสาททั้งหลาย มันเกิดเพราะคิดมาก แต่เมื่อเราฝึกไปแล้วมันสอนเรา เวลามันคิดขึ้นมันเลย ปวดหัว เขาเรียกว่า Psychosomatic โรคทางจิตออก ทางกาย ที่นี้เรื่องศีล ๕ ก็เอาสติไม่ให้ผิดโทษ ๕ อย่าง สติจะตามอยู่เรื่อยๆ รักษาเจตนาอยู่เรื่อยๆ มันก็เรื่อง แปลกอีก มันเกิดขึ้นมาอีก มันมีเจตนาตัวหนึ่งเกิดขึ้น ที่จะผิดโทษ ๕ อย่าง แต่มันมีอีกตัวหนึ่งที่มันรักษา มัน ไม่ยอมผิด มันทันกันอย่างนี้ มันมีตัวหนึ่งจะออก ตัว หนึ่งมันรักษาแล้วมันทัน พอมันทันกันแล้ว มันก็หลุด ออกไปอีก มันก็เลยคําว่าปกติ อ้อ ที่ท่านเรียกว่าปกติ มันคงแบบนี้มั้ง ท่านเลยบอกว่าตอนแรก เราก็ต้องมี เจตนารักษาศีล ใช้สติสัมปชัญญะ พอปฏิบัติแล้วมัน เป็นปกติก็ไม่ต้องรักษามัน เพราะเจตนามันจะออกก็ไม่มี เจตนาจะรักษาไม่มี ก็เลยไม่รู้จะต้องทําอย่างไร มันก็ ปกติของมัน เป็นอยู่แค่นั้น ฝึกที่แรกมันเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นจับหลักได้แค่ว่าศีลคือปกติ ศีลคือศิลา ศีลรักษาที่เจตนา จึงเอาสติสัมปชัญญะไปรักษาเจตนาจะ ไม่ให้ผิดโทษ ๕ อย่าง เผลอแล้วแล้วไป ทํามันอยู่อย่าง นั้น แล้วมันก็เกิดสภาวะอย่างนี้ ก็เลยนํามาเล่าให้ฟัง มันเกิดอย่างนี้ เพราะนั้นศีล ๕ คําว่าปกติ ปกติคือการที่มันไม่มีโทษออก มันไม่มีตัวรักษา เพราะฉะนั้น เหมือนกฎหมายบ้านเมือง เมื่อไม่มีโจร ก็ไม่จําเป็นต้อง มีตํารวจ มันก็ปกติของมัน ไม่มีเรื่องวุ่นวาย จริงไหม แต่ถ้ามีโจรอยู่ ก็ต้องมีตํารวจตามเฝ้าโจรอยู่ แล้วก็ต้อง มีเรื่องวุ่นวาย มันก็เลยเรียกว่าไม่ปกติ นั้นศีลแปลว่าปกติ ก็ต้องใช้สติสัมปชัญญะรักษา

ทีนี้การฝึกสมาธินั้น อาตมาก็ทําแค่นี้ ไม่ทําอะไร มาก ฝึกสติประจําวันตั้งแต่ตื่นนอนลงนอน เวลาฟังก็ ตั้งสติฟัง เขาพูดอะไร เวลาดูก็ตั้งสติดู เวลาดมกลิ่นก็ ตั้งสติดู เวลาลิ้มรสก็ตั้งสติดูมัน เวลาสัมผัสก็ตั้งสติดูมัน เวลาคิดนึกคิดถูกคิดผิดก็ตั้งสติดูมัน แต่มีอยู่อย่างหนึ่ง ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องอะไร ก็ตั้งไว้ว่าจะไม่ยินดีไม่ยินร้าย เวลาเขาเปิดเพลงให้ฟัง เราไม่ได้อยากฟังเพลงนะ แต่ เราห้ามเขาเปิดไม่ได้ หูมันต้องได้ยินใช่ไหม เราก็ไม่ ยินดีที่เขาเปิด เราก็ไม่ยินร้ายที่เขาเปิด ตั้งจิตไว้อย่างนั้น รักษาอยู่อย่างนั้น ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เวลาเห็นอะไรก็จะ ตั้งอย่างนี้ ฝึกอยู่อย่างนี้ แต่จะให้ไปเปิดเองก็ไม่เปิด อันนั้นฝึกเบื้องต้นทําแบบนี้ ที่นี้เวลาเราฝึกมาแล้วนี่ เราควรจะต้องมาพิจารณา อันนี้พูดถึงเรื่องการฝึกสติ สมาธิให้นั่งทุกวัน

ทีนี้บางคนก็บอกว่าต้องเดินจงกรมนั่งสมาธิ ก่อสร้าง ไม่ได้ แต่ที่วัดนี่ต้องก่อสร้าง ไม่มีใครช่วยทํา ก็ต้องทํา กับช่าง มันมีอยู่อย่างหนึ่ง สตินี้นะ มันไม่ได้อยู่ที่ตอน จงกรมหรือนั่งสมาธิหรือยืนอย่างเดียวนะ สติสัมปชัญญะ นี่มันมีทุกอิริยาบถ ถ้าเราฝึกเพื่อเดินอย่างเดียว เวลา ขับรถไม่มีสติ เขาก็เรียกว่าอะไร ขับรถโดยประมาท เกิด อุบัติเหตุเกิดขึ้น เพราะนั้นสติสัมปชัญญะนี่มันจะไปทุก อายตนะ มันจะไปตลอด นั้นเราต้องฝึกให้มาก ฝึกให้ มากจนเป็นวสี จนชํานาญ จนเป็นอัตโนมัติของมันเอง แล้วเราจะได้เห็นผลของมัน
มีอยู่ที่หนึ่งสมัยบวชพรรษาแรก ไปทําเจดีย์ บันได ขึ้นไปก็ไต่บันไดขึ้น เวลาจะลงดันเอาก้นลง ไม่ได้ดู แล้ว ก็เข้าใจผิดว่ามันถึงพื้นแล้ว ปล่อยเต็มที่เลย เออ พอ ปล่อยเต็มที่ มันก็หงายหลังลงเลย แล้วพอดีตรงนั้นมัน เป็นช่องพอดีที่ไว้ขาบันไดมันก็ลงเลย หงายหัวลงเลย แต่ มันเกิดอะไรขึ้นมา มันนิ่งอยู่นิดหนึ่ง พอมันหงายแล้วมันนิ่งนิดหนึ่ง พอนิ่งนิดหนึ่งแล้วมันก็ออกมา แล้วมัน ก็มีตัวหนึ่งถามขึ้นมาว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วมันก็มีอีกตัวหนึ่ง ตอบขึ้นมาเอง เราไม่ได้ตอบนะเพราะมันเร็วมาก ถ้ามัว มานั่งคิดตอบอย่างนี้คอหักเรียบร้อย มันก็บอกขึ้นมาว่า ตกคอหักตาย มันมีตัวหนึ่งถาม แล้วก็มีตัวหนึ่งตอบ ตอบเสร็จแล้ว มันก็สั่งการโดยอัตโนมัติ ให้มือ ๒ ข้างนี่ โหนไอ้ตรงข้างพื้นนั่นน่ะ เหมือนเราเล่นบาร์คู่ โหนแล้ว ก็พยุงตัวขึ้นมาก็เลยไม่ตาย เลยได้มานั่งตรงนี้ อันนี้มัน ทํางานของมันเองเลยนะ เราไม่ได้ทําเลย

ทีนี้อีก ๕ พรรษาก็ไปทําบ่อน้ํา พอทําบ่อน้ําก็มี อาคารที่มันอยู่บนบ่อ ที่นี้ก็ถือไม้กระดานคู่กับพระอีกรูป หนึ่ง ถือกันเดินคนละคาน ที่นี้ท่านตัวใหญ่กว่า ท่าน แข็งแรงกว่า ท่านก็เดินเร็วกระชากเรา พอกระชากก ๔ เมตร มันก็ตกลงเลย ๔ เมตร นี่มันตกลง พอมันตกลง ตานี่มันเห็นรูป ไม้ค้ํายันคานอยู่นี่ มันเห็นนะ มันสั่ง การอัตโนมัติเลยให้มือเกาะตรงนี้ ตรงนี้พยุงตัวขึ้น พยุง ตัวขึ้นก็ขึ้นมาได้พอดี ถ้าตกลงไปก็ไม่ขาหัก แขนหัก ก็ คอหัก มันทํางานโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้สั่งการเลยนะไม่ได้คิด อันนี้มาเล่าให้ฟัง คราวแรกพรรษาแรก มันลง ไปสงบนิ่งก่อน แล้วมันออกมา แล้วมันก็ถาม แล้วมัน ก็ตอบเอง คราวนี้มันไม่เข้าสงบนิ่ง แต่มันทํางานอัตโนมัติ มันเห็นรูปปับมันสั่งการต้องทําอย่างนี้นี้ๆๆ หมด ถ้ามัว มาคิดไม่ทัน เพราะมันชั่ววินาทีเดียว มันเป็นเสี้ยวของ วินาที มันต้องตาย อันนี้มันสั่งการอัตโนมัติ ทําให้เอง หมดเรียบร้อย

นี่ก็เลยมาเล่าให้ฟัง เพราะนั้นสติสัมปชัญญะฝึกไว้ ให้มาก ทีนี้ใจมันเป็นอย่างไร อันนี้เล่าเรื่องอดีตให้ฟัง ครั้งแรกที่มันตก ใจมันก็เฉยๆ เหมือนไม่ได้ตกเลย มัน ไม่มีหวั่นไหว ไม่มีอะไรนิ่งเฉยๆ ตั้งแต่ตอนนั้นลงไปนิ่ง ก่อนแล้วมันก็เฉย ตอนที่ ๒ มันไม่ลงนิ่งแต่มันสั่งการ เพราะมันนิ่งไม่ทัน ถ้านิ่งแล้วตาย มันก็ไม่หวั่นไหวก็ เหมือนเราไม่ได้เกิดอะไรขึ้น จิตใจมันก็เฉยๆ ไม่ตกอก ตกใจ ไม่มีอะไร ไม่มีปฏิกิริยาอะไร เหมือนไม่ได้เกิด อะไรขึ้น อันนี้ก็เล่าให้ฟังว่าสติสัมปชัญญะนั้นต้องฝึก ให้มาก เวลาคับขันนี่ มันจะทํางานของมันเองโดยอัตโนมัติ ทําโดยอัตโนมัติถ้าเราฝึกไว้มาก การฝึกสติไม่ใช่ว่าจะต้องเห็นทุกก้าว เห็นทุกก้าวไม่เห็นทุกก้าวไม่สําคัญ สําคัญ ที่เราตั้งใจฝึก เผลอแล้วแล้วไประลึกได้เอาใหม่ ถ้าเรา จะตั้งให้เห็นทุกก้าวเดี๋ยวมันจะเครียดนะ เพราะมันเอา ตัวเข้าไปทํา

การฝึกสติไม่ใช่การฝึกเอาตัวเข้าไป ถ้าฝึกเอาตัว เข้าไป เป็นของตัวกูเมื่อไรมันเครียด ต้องมีอุบายฝึกมัน เอาเบาๆ นี่ อันนี้จึงพูดให้ฟัง ฝึกสติ ฝึกตั้งแต่ตื่นนอน ถึงลงนอน เผลอแล้วแล้วไประลึกได้เอาใหม่ การนั่งสมาธิ เวลาว่างก็ให้นั่ง นั่งทุกวันล่ะดี แต่ไม่จําเป็นต้องตลอด เวลา เอาช่วงว่าง เวลาทํางานในหน้าที่ต่างๆ อย่าไปนั่ง สมาธินะ เอาสติอยู่ตรงงานตรงนั้น ให้มันตั้งมั่นในงาน แล้วมันจะพินิจพิจารณาเหตุปัจจัยในงานนั้น มันก็ได้ ประโยชน์ทั้งภายนอก ได้ประโยชน์ทั้งภายใน ถ้าเรา ฝึกไว้มากๆ เวลามันมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ย้อนกลับมาดู กลางอกเรา ถ้ามันมีทุกข์มีอะไรเกิดขึ้น มันมีปัญหาอะไร ก็ย้อนกลับมาดูกลางอกเรา เหตุมันคืออะไร

อันนี้ทีแรกฝึกแบบนี้ ก็เลยมาเล่าเรื่องที่ตัวเอง ทําให้ฟัง ย้อนมาดูมัน เวลาเวทนาเกิด ตอนนั้นก็ไม่รู้จะทําอย่างไร ทําอย่างเดียว เอาดูอย่างเดียว ประคอง จิตไม่ให้ยินดียินร้าย อย่างถอนฟัน นั่งดูมันตั้งแต่ 6 โมง เช้าถึงบ่าย ๓ โมงเย็น เห็นเวทนามันดับไปคาตาเลย นั่ง ดูมันเฉยๆ ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับมัน นั่งดูมันน่ะ มันจะ เกิดไปนานเท่าไร มันจะดับนานเท่าไร ประคองมันอยู่ อย่างนั้น ฝึกอยู่อย่างนั้น อันนี้ฝึกเบื้องแรกฝึกอย่างนี้ ทีนี้พอปฏิบัติไปเรื่อยๆ เราก็ต้องยกกายขึ้นมาวิจัย หา ความรู้จากกายแล้วนะ เหตุนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้นี่ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ธาตุกรรมฐาน อันนี้เป็นเบื้องต้นที่ ควรจะฝึก สําหรับผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรม

ทําไมถึงพูดเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ สัมมาทิฏฐิ เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหมด อวิชชาเป็นเบื้องต้น ของอกุศลกรรมทั้งหมด ที่นี้สัมมาทิฏฐินั้น คือความ เห็นชอบ เห็นชอบอย่างไร คือความเห็นตรงต่อสัจธรรม คือความจริง นั้นเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ถ้าเห็นไม่ตรงต่อ ความเป็นจริงนั้นไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ความ เห็นตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเพราะครูอาจารย์องค์นั้นบอก เพราะ คนที่มีชื่อเสียงบอก เพราะฉันเคยเข้าใจอย่างนี้ ฉันเชื่ออย่างนี้ อันนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ สัมมาทิฏฐิมีตัววัด คือตัวสัจธรรม คือความจริงในสิ่งนั้นเป็นตัววัด ไม่ได้ ขึ้นกับเรา ไม่ได้ขึ้นกับเขา ขึ้นกับว่ามันตรงความจริงไหม ถ้าตรงความจริงก็เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าไม่ตรงความจริงก็ ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ ก็แค่นั้น

ที่นี้คําว่าเราจะเห็นชอบตรงตามความเป็นจริง เรา ก็ต้องหา หาว่าความจริงมันคืออะไร เพราะเราเกิดขึ้นมานี้นี่ เชื่อว่าทุกคนเกิดขึ้นนี่ด้วยอวิชชาหมด ถ้าใครไม่มีอวิชชา คงไม่ได้เกิดคงเข้านิพพานหมดแล้ว ที่เกิดมาทั้งหมด ที่มานั่งอยู่ในนี้ แม้แต่อาตมาเหมือนกัน ก็เกิดด้วย อวิชชาทั้งนั้นเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้นเวลาเกิดด้วยอวิชชา พอเกิดขึ้นมาแล้วจะมีวิชชาจรณสัมปันโนคงจะไม่ใช่ ใช่ไหม จริงไหม มันจะต้องมีอะไรที่ปกปิดอยู่ ที่ให้เราไม่เห็น แจ้งในเรื่องกายใจ ในความจริงในกายใจของเรา เพราะ ฉะนั้นเวลามันมีอะไรปกปิด เหมือนภาชนะน่ะ มันปกปิด อยู่ เราก็ทําอย่างไร เราก็เปิดมันออกถูกไหม มันมีเชือก รัดเราก็แก้เชือกออก มันมีฝาปิดก็เปิดฝาออก มันมี กระดาษหุ้มก็ฉีกกระดาษมันออก มันก็จะไปเห็นเนื้อในว่ามันมีอะไรจริงไหม นี่ พอย้อนกลับมาในเรื่องกายใจเรา เรารู้ความจริงเห็นความจริงในกายใจเราไหม ถ้าเรายัง ไม่รู้แจ้งเห็นแจ้งความจริงในกายใจเรา ก็เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ อวิชชามันยังครอบงําเราอยู่นะ

ที่นี้เราจะทําอย่างไร อาตมาก็จึงบอกว่า ทุกคนนี้มี พ่อแม่เป็นแดนเกิด มีเหตุเกิด จริงไหม พูดโดยสมมติ นะ อวิชชานี้มันก็ต้องมีเหตุเกิด แต่ท่านบัญญัติอวิชชา เป็นต้นสาย จริงไหม อวิชชาทําให้เกิดสังขาร สังขาร ทําให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทําให้เกิดนามรูป ไล่ไปจน ถึงทุกขะ โสกะ ปริเทวะ จริงไหม ที่นี้ท่านบัญญัติ อวิชชา เป็นต้นสาย ที่นี้พ่อแม่อวิชชามันอยู่ตรงไหน อะไรมัน เป็นเหตุของอวิชชา นี่ เราต้องมาจับหลักมันก่อน ถ้าเรา จับหลักมันได้ เราจะรู้แนวปฏิบัติ การที่เรารู้แนวปฏิบัติ มันก็เป็นสัมมาทิฏฐิอันหนึ่ง อะไรเป็นเหตุให้มันเกิด ความ ไม่เห็นแจ้ง ความไม่รู้แจ้งตรงนั้นน่ะ ใช่ไหม เรียกว่า อวิชชา ไม่รู้จริงหรือไม่เห็นจริงก็แล้วแต่จะเรียก สํานวน แล้วแต่ แต่ความไม่เห็นแจ้งในตรงจุดนั้นน่ะ นั่นล่ะ อวิชชามันแอบแฝงได้ ทําอย่างไร ก็ทําให้มันเปิดเผยขึ้น

ให้มันเห็นแจ้งตรงนั้น เพราะฉะนั้นมูลเหตุแห่งอวิชชาก็ คืออโยนิโสมนสิการนั่นเอง การทําในใจไม่แยบคาย การ ไม่พินิจพิจารณา ไม่ศึกษาในกายใจเรานั่นเอง มันเป็น จุดที่อวิชชามันซ่อนได้ ถ้าเราคลี่คลายมันออก วิเคราะห์ วิจัย เห็นแจ้งสิ่งเหล่านี้หมด มันก็ซ่อนอยู่ไม่ได้ นี่ใช่ไหม

ทีนี้การที่เราไม่เห็นแจ้งในกายใจตรงนี้ เราเกิดขึ้น มานี้ เราไม่ใช่พุทธะ เราไม่ได้ตรัสรู้เองโดยชอบ เพราะ บารมีเราสร้างมาไม่ถึงตรงนั้น เราก็ต้องอาศัยอะไร ก็ต้อง อาศัยกัลยาณมิตรหรือสัตบุรุษนั่นเอง สัตบุรุษครูอาจารย์ ทั้งหลายที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาจนรู้แจ้งเห็นจริง ท่าน อาศัยใคร ก็ย้อนขึ้นไป ก็คือสุดท้ายคืออาศัยพระพุทธเจ้า ถูกไหม เพราะนั้นพระพุทธเจ้านั่นล่ะคือกัลยาณมิตรของ เรา คือสัตบุรุษ แต่อาศัยปากของครูอาจารย์ถ่ายทอดลงมา จริงไหม เพราะฉะนั้นเราไม่มีเรื่องที่จะต้องไปเสียเวลา กับที่จะต้องไปทะเลาะเบาะแว้งกับความเห็นว่าคําสอนนี้ เป็นของใคร

เวลาเราพิจารณาอรรถธรรมนั้น พระผู้มีพระภาค เจ้าได้ตรัสไว้กับพระนางมหาปชาบดีโคตมี ธรรมใดเป็นไป เพื่อละโลภ โกรธ หลง ไม่สะสมกิเลส ธรรมนั้นน่ะ เป็นธรรมของเราตถาคต เพราะนั้นถ้ามันเข้าสู่หลักธรรม ตรงสัจธรรม ตรงความจริง มันเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า หมด จริงๆ ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเราก็สมมติ เรียก ว่าของพระพุทธเจ้า เพราะท่านมาตรัสรู้ จริงๆ สัจธรรม นั้นมันเป็นของกลาง พระนิพพานไม่ใช่ว่ามีตั้งแต่พระพุทธ เจ้าองค์ปัจจุบันจะมาตรัสรู้ มันมีก่อนแล้ว ตั้งแต่สมเด็จ องค์ปฐมองค์แรก เรื่อยลงมาจนถึงนี้ แล้วในอนาคตก็ ยังมีอยู่ ท่านมาค้นพบ จึงบัญญัติออกมาเผยแผ่ให้เรา ได้ประพฤติปฏิบัติ ท่านไม่ได้สร้างนะ ธรรมะพระพุทธเจ้า เราไม่ได้สร้างขึ้นมา มันเป็นของที่มีอยู่แล้ว มีอยู่แล้ว ท่านมาค้นพบจึงนํามาเผยแผ่นั่นเอง

เพราะฉะนั้นธรรมะมันเป็นของกลาง คําว่าของกลาง ทุกคนจึงมีสิทธิ์ที่จะประพฤติปฏิบัติเข้าถึงจุดเดียวกัน ได้หมดคือพระนิพพาน ถ้าเป็นของบุคคลนั้นบุคคลนี้ มันเป็นลิขสิทธิ์ส่วนตัว คนอื่นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงได้ จริงไหม ถูกไหม เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจหลักธรรมนะ มันจะจบ ไม่ต้องมาเถียงกัน การทะเลาะเบาะแว้ง  เถียงกันว่า นี้ธรรมของใคร มันก็เลยไปหลงอยู่ในสมมติ สัตว์ บุคคลอยู่ตลอด เข้าไม่ถึงแก่นธรรม แก่นธรรม สัจธรรมนั้นมันคงที่คงวา มันไม่ได้ขึ้นกับบุคคล มันมี ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็มี หลัง พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็มี มีมาตลอด แล้วอนาคตกาลก็ยัง มีอยู่ แต่ผู้ใดจะรู้ธรรมเห็นธรรม ขึ้นกับผู้นั้นปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมไหม ปฏิบัติตรงไหม เป็นสัมมา ทิฏฐิไหม ถ้าไม่ได้แล้วจะไปกล่าวต่ว่า ธรรมท่านเป็น โมฆะก็ผิดอีก ไอ้เรามันโมฆะ ไม่ใช่ท่านโมฆะ จริงไหม

นี่เราต้องศึกษาให้เข้าใจถึงหลักธรรมถึงแก่นธรรม ถ้าเราเข้าใจตรงนี้แล้ว ปัญหาทั้งหลายมันก็จบ เพราะ มันเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว มันไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่เถียงกัน อยู่น่ะมันเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ ยังหลงอยู่ในสมมติหมด ไม่รู้ แจ้งสมมติปรมัตถ์ จริงไหม นี่ เพราะฉะนั้นถ้าเรา เข้าใจตรงนี้จะหมดปัญหาเลย ตําราทั้งหลายเวลาเปิดขึ้น อ่าน เราจะเข้าใจเลย เขาเขียนผิดหรือเขียนถูก ที่เขียน ผิดเขียนถูก เข้าใจ ไม่ใช่เพราะเราเป็นคนตัดสินนะ เพราะสัจธรรมคือความจริงมันเป็นเครื่องตัดสิน ถ้ามันเกยสัจธรรม มันไม่ตรงสัจธรรมเมื่อไร มันก็ไม่ใช่ ใช่ไหม

ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างอาคารหลังนี้ มีคนมาบอก ว่า ท่านอธิการ อาคารหลังนี้เสานะใช้เหล็ก ๒ หุนสร้างนะ มันอยู่ได้เป็นพันปี แล้วมันตรงไหม ถ้าลองใช้เหล็ก ๒ หุนสร้าง ใส่ซะ ๔ เส้นใช่ไหม แล้วก็สร้างไปสัก ๑๐ ชั้น รื้อไม้แบบยังไม่หมดน่ะ มันทับหัวเราก่อน จริงไหม มัน พังเพราะอะไร เพราะมันไม่ตรงกับความจริงแนวแรง ของมัน ถูกไหม ถ้าเราคํานวณตรงความจริงตรงแนว แรงของมันมันก็มั่นคง มันไม่ได้อยู่ที่ใครบอก มันอยู่ที่ ความจริงตรงนั้น เหตุปัจจัยตรงนั้นเป็นตัวบอก จริงไหม เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจตรงนี้นี่ มันจะตัดไปหลายเรื่อง อย่างเช่นสมัยหลวงปู่มั่น คนก็เชื่อว่านิพพานไม่มีแล้ว พระอรหันต์ไม่มี มันไปตามยุค สมัยพุทธกาลก็เข้าใจ อย่างนั้น อันนี้มันก็ไม่ตรงอีกเพราะอะไร เพราะธรรมะ มันมี สัจธรรมมันมี มันไม่ได้เลือกกาลเวลา ถ้าเลือก กาลเวลามันก็ไม่ใช่สัจธรรม ไม่ใช่ความจริง ถูกไหม

เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจตรงนี้นี่ มันก็หมดความ ลังเลสงสัย ที่เชื่อว่ามันหมดยุคหมดสมัยแล้ว ถ้ามันยังเชื่อว่าหมดยุคหมดสมัย เวลาปฏิบัติมันก็ห่อเหี่ยวแล้ว ไม่รู้จะทําไปทําไม มันไม่ได้ผลน่ะ โง่ไปทําทําไม ฉันก็ ไม่โง่ถูกไหม จริงไหม ทีนี้ถ้าเราเข้าใจสัจธรรมความจริง ตรงนี้ มันมีของมันอยู่ เพียงแต่เราปฏิบัติตรงไหม สมควร แก่ธรรมไหม พอเรารู้อย่างนี้ก็มีกําลังใจปฏิบัติไหม ปลูก ต้นมะม่วง รู้อยู่ว่ามะม่วงต้นนี้ไม่เป็นหมัน อย่างไรก็ต้อง ได้กินผล มันก็มีกําลังใจไหม ถ้าปลูกต้นมะม่วงแล้วรู้ว่า มันเป็นหมันน่ะจะปลูกไปทําไม มันก็ห่อเหี่ยวใช่ไหม จริง ไหม ตัวสัจธรรมคือความจริงนั่นเองมันเป็นตัวตัดสิน ตัดสินทุกเรื่อง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ครูอาจารย์องค์ นั้น ไม่ใช่หนังสือเล่มนี้ ตัวธรรมะตัวสัจธรรมคือความจริง มันทรงความจริงของเขา มันเป็นตัวตัดสิน ใครพูดตรง สัจธรรมเราก็ยอมเชื่อ ใครพูดไม่ตรงสัจธรรมเราก็ไม่เชื่อ เราคิดไม่ตรงสัจธรรมเราก็ไม่เชื่อ เราคิดตรงสัจธรรมเรา ก็เชื่อ เราเชื่อไม่ใช่เพราะเชื่อความเห็นเรา เชื่อความเห็น เขา เราเชื่อเพราะมันตรงสัจธรรม ถ้าสิ่งใดตรงสัจธรรม เราก็เชื่อตรงนั้น เพราะฉะนั้นความเห็นเราความเห็นเขา ก็เลยหมดปัญหาใช่ไหม ไม่มี ความเห็นเราก็เปลี่ยนได้ ถ้ามันไม่ตรงสัจธรรม ถูกไหม ความเห็นเขาเราก็เชื่อได้ ไม่เชื่อได้ถ้ามันไม่ตรงสัจธรรม จริงไหม ถ้ามันไม่ตรง สัจธรรมเราก็ไม่เชื่อ ตรงเราก็เชื่อ ก็เท่านั้น แล้วเราก็ เอาไปประพฤติปฏิบัติดู ถ้าเป็นจริงก็เชื่อซะก็จบ

เพราะฉะนั้นความรู้ความเห็นทั้งภายนอก ความรู้ ความเห็นทั้งภายใน จะถูกตัวสติปัญญานั้นน่ะกลั่นกรอง วิจัยตลอด มันจึงไม่มีคําว่าลําเอียงอคติไง จริงไหม แต่ ในโลกนี้จะเอาความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ถือความเห็นตัว เองเป็นใหญ่ ความเห็นใดที่มันไม่ตรงสัจธรรม มันเป็น ความเห็นกู กูก็ไม่ยอม เมื่อเข้าไปใช่ไหม อันนี้ก็เลย เรียกว่าไม่เคารพธรรม คือความจริงนั่นเอง เข้าใจยัง อันนี้เป็นหลักตัดสิน เพราะนั้นโยมเข้าใจหลักตรงนี้ มัน ก็หมดปัญหา ไม่ต้องไปทะเลาะกันใน Facebook ใน อะไรต่างๆ วุ่นวายไปหมด เพราะเสียเวลา เพราะการ ทะเลาะกันก็คือการหลงสมมติ หลงทั้งคู่ เสียเวลา เสีย เวลา เราไม่ควรจะไปทําเหตุแห่งความทุกข์ ถ้าเราคิด จะปฏิบัติ เราต้องสร้างเหตุแห่งความพ้นทุกข์ต่างหาก จริงไหม เหตุนั้นพระจุนทะไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า จะ ละทิฏฐิคือความเห็น ทิฏฐิคือความเห็นนะ ภาษาบาลี เรียกว่าทิฏฐิ ภาษาไทยเรียกว่าความเห็น จะละความ เห็นได้อย่างไรพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ให้เธอพิจารณาว่า นั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ตนของเรา เข้าใจยัง มันไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่จําเป็น ต้องเชื่อมั่น ถูกไหม ถ้ามันเห็นถูกก็เชื่อมัน มันเห็นไม่ ถูกก็ไม่เชื่อมั่น เพราะมันไม่ใช่ของเรา เราอาศัยความ เห็นนั้นทําประโยชน์ ถ้าเห็นถูกก็อาศัยมันทําประโยชน์ เห็นผิดก็ละมันทิ้ง ไม่อาศัยมันทําโทษ จริงไหม นี่คนมี ปัญญาต้องอย่างนั้น ลองไปคิดดูว่าจริงไหม เพราะ ฉะนั้นกัลยาณธรรม กัลยาณมิตร นี่เป็นจุดเริ่มต้น เพราะ เราเกิดด้วยอวิชชา เพราะเราเกิดด้วยอวิชชา เราไม่ สามารถรู้เองได้ ก็เหมือนพูดเมื่อต้นชั่วโมง ว่าเหมือน เด็กเล็กก็ต้องอาศัยพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเลี้ยงใช้ไหม เด็ก แบเบาะมันจะร้องแล้วจะคลานมากินนมได้ไหม ก็ต้อง อุ้มมันมา เอานมใส่ให้กิน ใช่ไหม จริงไหม

ฉันใดฉันนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมเบื้องต้นก็เหมือนเด็ก อ่อน เราต้องรู้เมื่อเด็กอ่อน เราต้องแสวงหากัลยาณมิตร แสวงหาสัตบุรุษเป็นต้นก่อนนั่นเอง ถูกไหม กัลยาณมิตร หรือสัตบุรุษสรุปก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง เพราะธรรมที่ เรามาแสดงทั้งหมดก็เกิดจากท่าน เพราะเราไม่ได้ตรัสรู้ ได้เอง จริงไหม ถ่ายทอดมาจากท่านนั่นเอง ก็ไล่ไปต้น สายก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง เอามาขบคิดพิจารณาจับ หลักให้ถูก เมื่อจับหลักถูกแล้วก็ไปนําประพฤติปฏิบัติ จนเรามีสติตั้งมั่น มีสมาธิตั้งมั่น มีปัญญาตั้งมั่น รู้หลัก สัจธรรม รู้หลักความจริงแล้ว เห็นหลักสัจธรรม เห็น ความจริงแล้วก็อาศัยหลักที่ท่านให้ มาวิเคราะห์วิจัยใน กายใจเรา หาความจริงในกายใจเราต่อไปอีก

ที่นี้เราก็จะพึ่งตนเองได้ ท่านจึงบอก อัตตะนา โจทะยัตตานัง ตนเตือนตน ใช่ไหม อัตตะนา โจทะยัตตานัง ตนเตือนตน แล้วก็ อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จะเป็นที่พึ่งแห่งตน พึ่งอะไร ไม่ใช่พึ่งตัวตนนะ พึ่งสติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม วิเคราะห์วิจัยอยู่อย่างนี้ องค์ธรรมมันก็เลยเรียกว่าความเพียร นั่นเอง ศรัทธา ความเพียรก็อยู่ในนี้หมด นี่ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ก็วิเคราะห์วิจัยหาเหตุหาผล เบื้องต้นก็ ต้องอาศัยกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมนั่นเอง ประพฤติ ปฏิบัติ แล้วเมื่อเราได้หลักฐานมั่นคง ก็อาศัยตัวเองนั้น ล่ะประพฤติปฏิบัติ วิเคราะห์วิจัย สิ่งใดที่มันตรงสัจธรรม ก็ยอมรับ สิ่งใดที่มันไม่ตรงสัจธรรมก็ไม่เอากับมัน ไม่ ว่าความเห็นนั้นจะเป็นความเห็นเราหรือความเห็นเขา เพราะฉะนั้นมันก็เลยตั้งจิตไว้ด้วยความเป็นกลาง จริงไหม ไม่ขึ้นกับความเห็นเราหรือความเห็นเขา ขึ้นกับสัจธรรม คือความจริง ถ้าสิ่งใดเขาพูดมาตรงสัจธรรมแต่ไม่ตรง ความเห็นเรา เราก็เชื่อ สิ่งใดเราคิดขึ้นมา มันไม่ตรง สัจธรรมเราก็ไม่เชื่อความคิดเรา ถูกไหม เพราะความคิด มันก็ไม่ใช่ของเราอีกนะ จริงไหม มันเป็นขันธ์อันหนึ่ง เรียกว่าสังขารขันธ์

ถ้าเราเห็นอย่างนี้ ตั้งหลักไว้อย่างนี้ เราจะวิเคราะห์ วิจัย กลั่นน้ําใสออกจากน้ําขุ่นน่ะ เข้าใจยัง แล้วเราจะ มีหลักที่จะพินิจพิจารณาตัวเอง แล้วก็จะมีหลักที่จะฟัง ข้างนอกด้วย ถ้าไม่ถูกเราก็ไม่ไป เราก็จะเลือกได้ว่าใครเป็นบัณฑิต ใครเป็นคนพาล ถ้าเป็นบัณฑิตเราก็ เข้าหาเข้าคบ ถ้าเป็นคนพาลเราก็หลีกลี้ จึงตรงกับพระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตร อะเสวะนา จะ พาลานั่ง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา เอตัมมังคะละมุตตะมัง จริงๆ มงคลสูตร ๓๘ ประการก็คือมรรค ๘ นั่นเอง แต่พูดใน เรื่องของมงคล เพราะฉะนั้นมรรค ๘ จะเริ่มต้นตัวไหน ก็เริ่มต้นด้วย อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ไม่ให้คบคนพาล ให้คบบัณฑิตนั่นเอง เป็น เบื้องต้นไง เมื่อคบสัตบุรุษหรือบัณฑิตแล้ว มันจะเป็น เหตุให้ได้ฟังธรรม เมื่อได้ฟังแล้ว คําว่าบัณฑิตท่านจะ แสดงสิ่งที่เป็นสัจธรรมตลอด สิ่งใดไม่ใช่สัจธรรมท่านจะ ไม่พูดไม่แสดง แล้วท่านจะตรง ไม่ลําเอียงนั่นเอง ไป ตามเนื้อผ้า แต่คนพาลไม่ใช่ นี่เมื่อเราได้คบบัณฑิต เรา จะได้สิ่งที่มันตรง ได้สัจธรรมที่ไปขบคิดพิจารณาได้ไป วิจัยตัวเอง นี่ มันจึงเป็น เอตัมมังคะละมุตตะมัง

เมื่อเราได้อย่างนี้ สิ่งใดที่มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อ ท่านแสดงสัมมาทิฏฐิให้ เราได้เอาไปขบคิดแล้วเป็นจริง มันก็จะเปลี่ยนความเห็นผิดในใจเราไปสู่ความเห็นถูกจริงไหม เมื่อเราเห็นถูกในใจเราแล้ว เราก็จะมีอะไรต่อ เวลามันคิด มันก็คิดถูกใช่ไหม เวลาคิดถูกมันก็พูดถูก ทําถูก ถูกไหม มันถูก มันก็ย้อนกลับมาให้มันเห็นถูกอีก หมุนไปอยู่กี่รอบ เขาจึงทําธรรมจักรไง มรรค ๘ ก็เลย เป็นรูปธรรมจักรไง เพราะมันหมุนเป็นกงล้อหมุนอย่างนี้ มันจะหมุนไปกี่รอบ มันอาศัยสัมมาทิฏฐิ อาศัย กัลยาณมิตรก่อน แล้วก็เข้าไปสู่สัมมาทิฏฐิ แล้วมันก็จะ หมุนออกไป แล้วก็กลับมาสัมมาทิฏฐิอีก หลายรอบเข้า หลายรอบเข้า นี่ เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจตรงนี้ มันก็ จะค่อยๆ ละเอียดขึ้น คําว่าละเอียดหมายความว่า จิตนั้น สติก็จะมากขึ้น ตั้งมั่นขึ้น สมาธิก็จะตั้งมั่นขึ้น ปัญญา ก็จะสว่าง เห็นแจ้งในเรื่องกายใจตัวเองนะ ไม่ใช่ไปเห็น คนอื่นนะ นี่มันจะตั้งมันขึ้น สว่างขึ้นไปเรื่อยๆ แล้ว มันจะเข้ามาวิจัย

ทีนี้จะย้อนกลับมาเรื่องของกาย กายนี้มันเกิดมา จากอะไร โยมเคยพิจารณาไหม กายนี้มันเกิดมาจากอะไร ก็ดูง่ายๆ มีพ่อกับมีแม่ มีไข่กับอสุจิ ถ้าคนบอกว่าฉัน ไม่มีสามี แต่ฉันทําเด็กหลอดแก้ว ก็ต้องมีไข่กับอสุจิ จริงไหม ผสมกัน จาก ๒ เซลล์เป็น ๑ เซลล์ จาก 9 เซลล์แตกขึ้นเป็น ๒ เป็น ๔ เป็น ๔ ไปเรื่อย จนเป็นรูป เด็ก จริงไหม ที่นี้ถามว่าเซลล์ ๑ เซลล์นี่ อสุจิกับไข่นี่ มันประกอบด้วยอะไร ถ้าหลักวิทยาศาสตร์เขาก็บอก มี ผนังเซลล์ มี Mitochondria มี DNA มีอะไร พูดง่ายๆ ก็สรุปง่ายๆ พวกโปรตีน ไขมัน ถูกไหม เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต พวกนี้มันเป็นองค์ประกอบถูกไหม ก็คือ อาหาร ๕ หมู่ที่เรากินอยู่ จริงไหม ถูกไหม พออยู่ใน ท้องก็อาศัยอาหารผ่านทางเลือดแม่ไปสู่รก ใช่ไหม ไป เลี้ยงเด็กอ่อน พอคลอดออกมาก็อาศัยนมแม่นมวัวหรือ นมแพะ แล้วแต่จะเลี้ยงใช่ไหม พอโตขึ้นมาก็อาศัย อาหารคาวหวาน ที่ย้อนกลับมา อาหารคาวหวานที่เรา กินทั้งหมด มันมาจากไหน มันเป็นของใคร

นี่ที่เราเรียนอยู่เดี๋ยวนี้ เราจะมีว่าเราปลูกผัก นี่ ผักของกูใช่ไหม อันนั้นมันถูกโดยสมมติกรรมสิทธิ์ เพื่อ ไม่แย่งชิงกัน แต่ถ้าพูดตามหลักอย่างต้นไม้ต้นหนึ่ง มัน มีการสังเคราะห์แสง แสงแดดของใคร คาร์บอนไดออกไซด์ มันของใคร น้ําของใคร เกลือแร่ในดินของใคร มันของประจําโลกหมดจริงไหม มาเป็นผัก สัตว์ไปกินผักเป็น เนื้อสัตว์ คนไปกินผักกินสัตว์เป็นเนื้อคน แล้วเนื้อคนนี้ จะเป็นเนื้อเราได้อย่างไร มันก็เป็นเนื้อของโลกชัดๆ เลยใช่ไหม เป็นของของโลก นี้เรียกว่าธาตุกรรมฐาน จริงไหม คือ โยมลองพิจารณาดู จริงไหม อ้า เมื่อมัน เป็นของโลก กายนี้มันจะเป็นของเราไหม ไม่ แต่สม มติกรรมสิทธิ์เฉยๆ นะว่าเป็นของเรา แต่โดยสัจธรรม โดยคือความจริงแล้ว กายนี้เป็นของโลก ถ้าเรียกให้ชัดๆ หน่อย บางคนก็เรียกว่าเป็นธรรมชาติ ของธรรมชาติ แต่ จริงๆ คือของของโลก เป็นธาตุนั่นเอง จริงไหม

คําว่าธาตุ มันก็เลยสูญจากคําว่า สัตว์บุคคลตัว ตนเราเขา มันไม่ใช่ของใคร อาศัยกายนี้อยู่ทําประโยชน์ ถ้าโยมพิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ โยมจะเข้าใจ พอโยมเข้าใจ จนมันเข้าไปถอนสมมติบัญญัติในใจเรา ที่มันสําคัญว่า กายนี้เป็นของเรา ถ้ามันถอนออกได้นะ โยมสบายแล้ว นะ แต่ต้องอาศัยบ่อยๆ เนื่องๆ โยนิโสมนสิการ ทําใน ใจให้แยบคาย ถ้าโยมเข้าใจตรงนี้ชัดแจ้ง อวิชชาจะ แอบแฝงในกายนี้ไม่ได้ ก็เรียกว่าอวิชชาดับ เข้าใจยังดับในกายนะ ที่นี้ก็เข้าไปสู่นามธรรมอีก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เวทนาเกิดจากอะไร เกิดจากการกระทบ รูปกระทบตา เสียงกระทบหู กลิ่นกระทบจมูก รส กระทบลิ้น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง กระทบกาย แม้แต่ ธรรมารมณ์คิดนึกกระทบใจ พอกระทบมันจะเกิดอะไร เกิดความรู้ วิญญาณ เกิดเวทนาตรงนั้นใช้ไหม เพราะ นั้นกายนี้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี่มันเป็นของใคร นี่อย่างอาคารนี้ของใคร ก็สมมติว่าของมหาวิทยาลัย ถูกไหม แต่ถ้าพูดโดยธรรมมันก็ของโลกอีก จริงไหม

เพราะนั้นถ้าเราเข้าใจตรงนี้ ข้างนอกมันก็ของ ของโลก ข้างใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันก็ของของโลก มันกระทบแล้วมันรู้ขึ้นมา ไอ้ความรู้นั้นจะเป็นของเรา ได้อย่างไร เขาก็เลยเรียกว่าธาตุรู้ไง ใช่ไหม ที่ท่าน สอนเรื่องธาตุกรรมฐาน ธาตุทั้ง ๔ ใช่ไหม ดิน น้ํา ไฟ ลม อากาศธาตุคือช่องว่าง วิญญาณธาตุคือธาตุรู้ใช่ไหม มัน ก็เป็นธาตุเห็นยัง เป็นของที่มันเกิดจากรูปกระทบตา เสียง กระทบหู กลิ่นกระทบจมูก รสกระทบลิ้น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง กระทบกาย แม้แต่คิดนึกธรรมารมณ์กระทบใจมันเลยเป็นธาตุรู้ขึ้นนั่นเอง เพราะนั้นตรงนี้มันจะเป็น ของเราได้อย่างไร ก็กายมันไม่ใช่ ต้นทางมันไม่ใช่ อายตนะภายนอก คือรูปรสกลิ่นเสียง สัมผัสเป็นของโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นธาตุเป็นของโลก รู้ขึ้นมา จะเป็นของเราได้ไหม ก็ของโลกอีกเห็นยัง

นี้น่ะจึงตรงว่าวิญญาณัง อนัตตา เห็นไหม เข้าใจ ยังวิญญาณัง อนัตตา พอมันรู้ มันก็มีเวทนาสุขทุกข์เฉยๆ เกิดขึ้นที่กาย สุขทุกข์เฉยๆ นั้นมันก็เกิดจากรูป เพราะนั้น เวลามันปวดนั่นปวดนี้ หมอวางยาชา ยาสลบ มันไม่ รู้จักปวดเลย เห็นยัง ถูกไหม มันก็เกี่ยวเนื่องกับรูป แล้ว จะเป็นของเราได้อย่างไร เวทนาก็ไม่ใช่ วิญญาณก็ไม่ใช่ สัญญาคือความจํา จําก็ต่อเนื่องจากความรู้ เมื่อรู้ไม่ใช่ ความจําก็เป็นขบวนการ เป็น process ที่ต่อเนื่องกันเฉยๆ จริงไหม เพราะนั้น process นี้ก็ต้องไม่ใช่ของเราอีก สัญญาก็ไม่ใช่ สัญญาไม่ใช่ แล้วสังขารมาคิด คิดตาม อะไร คิดตามกฎเกณฑ์นะ โยมเรียนวิศวะ โยมก็คิด แบบวิศวะ อย่างคนหนึ่งเป็นวิศวะมาคิดเรื่องอาคารนี้

ยกตัวอย่าง อาตมาเรียนแพทย์ อาตมาไม่รู้เรื่องหรอก ไม่คิดแบบนี้หรอก มีแต่ฟังเขาอย่างเดียว จริงไหม เพราะ เราไม่ได้เรียนรู้มา แต่พอเรื่องโรคมา เราก็คิดแบบแพทย์ แต่วิศวะไม่รู้แบบเรา เพราะเขาไม่ได้เรียน จริงไหม เพราะ นั้นความคิดเหล่านี้มันเกิดจากอะไร เกิดจากการเรียนรู้ เกิดจากวิญญาณ พอมันรู้มันก็จํา ถูกไหม พอมันจํา มันก็จําทั้งกฎเกณฑ์การคิดใช่ไหม สรุปพูดง่ายๆ จําทั้ง structure (โครงสร้าง) กับ process (กฎเกณฑ์ปฏิบัติการ) แล้วมันก็เอามาประมวลมาเป็นขบวนการคิดไง เพราะ นั้นความคิดจะเป็นของเราได้อย่างไร ก็ไม่ใช่อีก เขา เรียกสังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ใช่ไหม

เพราะนั้นถ้าเราพิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ ว่างๆ หยิบมันขึ้นวิจัยเรื่อยๆ ฝึกสติ สมาธิไป ฝึกวิจัย มันเรื่อยๆ มันก็จะเกิดสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบในเรื่องรูป นามตามความเป็นจริง ที่เราเห็นว่าเป็นของเรานี่มันไม่เห็นจริงนะ มันเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิมันเกิด แต่ถ้าเราเห็นอย่างนี้ สัมมาทิฏฐิมันเกิดแล้วเห็นไหม พอสัมมาทิฏฐิ เกิดโยมไม่ต้องละกิเลส เพราะอะไรถึงว่าไม่ละกิเลสจะทัศนะให้ฟัง แล้วก็ไม่ต้องละอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นผลจากอวิชชา เป็นตัวหนึ่งอยู่ในสายปฏิจจสมุปบาท ใช้ไหม เวลาห้องมันมืดนี่โยมจะทําอย่างไรให้มันหายมืด โยมเอาสวิง เอาตะกร้า เอากระสอบ มาบรรจุความมืด ไหม แล้วมันทําได้จริงไหม โยมก็ต้องทําไง อย่างห้องนี้ เห็นไหม เปิดไฟ พอแสงสว่างเกิด ความมืดหายไปไหม หายไหม

เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก อวิชชาเป็นความมืด เพราะฉะนั้นเขาเทียบให้ฟัง ถ้าเราจะทําแสงสว่างเกิดใน ดวงจิตคือวิชชาเกิด ต้องอะไร เจริญตัวปัญญา ปัญญา เกิดเมื่อไร ความมืดในใจคืออวิชชามันก็หายไปเอง ไม่ ได้ฆ่า ไม่ได้ละ เมื่อไม่มีอวิชชามันก็ไม่มีโลภ โกรธ หลง ไม่มีโลภ โกรธ หลง มันไม่มีอุปาทาน เพราะอุปาทาน สําคัญเป็นของเรา นี่มันเพราะเราไม่เห็นแจ้งว่า รูปทั้ง หลายมันเป็นธาตุทั้ง ๔ เป็นของประจําโลก จริงไหม ถ้า เห็นแจ้งแล้วใครจะโง่ไปเอามันมาเป็นของกู จริงไหม เพราะความรู้แจ้งเห็นจริงคือวิชชาในจิตขณะนั้น ในใจขณะนั้นมันเหนือ มันเหนือความหลงที่จะไปสําคัญว่ามัน เป็นของเราได้ เมื่อมันไม่สําคัญ มันก็เลยว่าเห็นสักแต่ ว่าเห็น รู้สักแต่ว่ารู้ สัมผัสสักแต่ว่าสัมผัส เข้าใจไหม มันไม่สําคัญหมายสักอย่าง เพราะมันเห็นแจ้งในใจตัวเอง แล้ว ว่าสิ่งทั้งหมดมันไม่ใช่ นี่ถ้าสัมมาทิฏฐิมันเกิดขึ้นมา

เพราะฉะนั้นปัญญาคืออะไร คือสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบตรงตามความเป็นจริง ถ้าเราเห็นหัวจรดเท้า เป็นธาตุ ไม่ใช่ของเราเมื่อไร มันก็จะไปยึดว่าเป็นของ เราได้ไหม มันก็ไม่ได้ เพราะมันเกิดคําว่าหิริกับโอตตัปปะ มันละอายแก่ใจที่จะไปกล่าวคู่ของโลกเป็นของกู จริงไหม นี่ต้องพิจารณารูปนามตรงนี้ให้ชัดแจ้ง ถ้าพิจารณาชัดแจ้ง นี่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ ทําในใจให้แยบคาย เป็นอาหาร ของวิชชา อโยนิโสมนสิการ ทําในใจไม่แยบคาย เป็น อาหารเป็นเหตุของอวิชชา เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรม มีหน้าที่อย่างเดียว หาสัจธรรมให้เจอ ฝึกสติ ฝึกสมาธิ ให้ตั้งมั่นที่กายที่ใจ ทําไมให้ตั้งมั่นที่กายที่ใจ เพราะมัน จะได้สัมผัส เห็นตัวสัมผัส มันเกิดอะไรขึ้นมันจะเห็น มันเพื่อให้ปัญญาเกิด ปัญญาเมื่อมันมาคลี่คลายขบวนการเหล่านี้ให้เห็นแจ้งแล้ว มันจะให้คําว่าวิมุตติหลุดพ้นเกิด นั่นเอง มันไม่ได้ไปฆ่าอะไร ไม่ทําลายอะไร ไม่ได้ไปละ อะไรหรอก ทําความจริงให้ปรากฏในกายใจเรา คือ สัมมาทิฏฐิ

เหตุนั้นท่านจึงบอกมรรค ๘ เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ จริงไหม ใช่ไหม ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคท่านบัญญัติเป็นมรรค ๘ ใช่ไหม ถูกไหม เพราะ ฉะนั้นมรรค ๘ คืออะไร ก็รวมลงคือตัวสัมมาทิฏฐิ สัมมา ทิฏฐิ ๘ ข้อยนลงข้อเดียว คือเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ในสภาวธรรม ณ ขณะนั้น ถ้าเราเห็นแจ้งเหตุปัจจัยตรง นั้นเมื่อไร ไม่ต้องพูด ๘ ข้อมันรวมเป็นหนึ่ง คืออยู่ตรงนี้ แล้วเราจะปฏิบัติได้ถูกต้อง แล้วมันจะเป็นอัตโนมัติของมัน ถ้าฝึกจนมันชัดแจ้งเข้าใจยัง เพราะนั้นเราต้องประพฤติ ปฏิบัติอย่างนี้ ทําความเห็นให้มันตรง ทําความเห็นให้ มันถูกต้อง ถูกต้องตามใคร ไม่ใช่ตามใคร ตามสัจธรรม คือความจริง สัจธรรมของรูปเป็นอย่างไร สัจธรรมของ นามเป็นอย่างไร ก็ไล่ให้ฟังหมดแล้ว ถ้าโยมเห็นแจ้งอย่างนี้ ความทุกข์ใจมันเกิดไม่ได้ เพราะโยมไม่หลงมัน ไม่สําคัญเป็นของเราเมื่อไร ไม่เอามันเมื่อไร มันก็มีเหมือนไม่มี มันมีอยู่ ทุกข์กายมันมี แต่ใจมันไม่ทุกข์ มันเฉยๆ แล้ว ก็ไม่ใช่ตั้งไปเฉยๆ นะ ทําสมาธิให้มันเฉยๆ ไม่ใช่ มันสัมผัส รู้อยู่ แต่ว่ามันไม่ มันเฉยของมันเอง เพราะว่ามันเห็น แล้วว่ามันไม่ใช่ของเรา มันไม่สําคัญหมายเป็นของเรา

เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นต้อง เจริญสัมมาทิฏฐิให้เกิด ถ้าผู้ใดเจริญสัมมาทิฏฐิเกิดก็ เท่ากับเราได้เดินองค์มรรคแล้ว ความพ้นทุกข์ก็จะรออยู่ ข้างหน้า สัมมาทิฏฐิเกิดคืออะไร ก็คือมาวิจัยกายใจเรา ที่นี้จะพูดอีกนิดหนึ่งนะ จะพูดเรื่องสมมติปรมัตถ์ให้ฟัง อีกนิดหนึ่ง เวลาเราเห็นรูปนี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ รูปที่ เธอเห็นเธอก็ไม่ได้เห็น เธอก็ไม่เคยเห็น แม้แต่รูปที่ สัมผัสตาเธอขณะนี้เธอก็ไม่ได้เห็น อันนี้พระพุทธเจ้าพูด แบบละเอียดมาก เข้าใจไหม อย่างโยมนโยมไม่เคยเห็น อาตมา อาตมาก็ไม่เคยเห็นโยม ที่อาตมาเห็นโยมอยู่นี้นี่ มันคือภาพเสมือน ก็เหมือนกล้องวงจรปิดอยู่เดี๋ยวนี้ที่ เห็นรูปนี่ มันไม่ใช่รูปอาตมานั่นน่ะ มันเป็นแสงเข้าตาโยม เข้าใจตรงนี้ไหม แสงที่สะท้อนจากตัวโยมเข้าตาอาตมาเมื่อตกสู่จอประสาทตา มันจะเกิดปฏิกิริยาเคมีใน Rod and Cone (เซลล์ประสาทตา) พูดแบบภาษาวิทยาศาสตร์ หน่อยนะ แล้วมันก็จะเกิดกระแสพลังงานขึ้น กระแส ประสาทตามเส้นประสาทไปสู่สมอง แล้วมันก็จะฟอร์ม ภาพขึ้นมา ภาพขึ้นมาเป็นภาพเสมือนให้เราเห็นว่า นี่คือ ตัวโยมอย่างนี้ล่ะ ก็เหมือนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์น่ะ เข้าใจยัง

เพราะนั้นสิ่งที่เราเห็นนี่ เราไม่ได้เห็นโยมเลย มัน เป็นภาพเสมือนที่มันเห็นในใจเฉยๆ เพราะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ รูปที่เธอเห็นน่ะ เธอก็ไม่ได้เห็นไม่ เคยเห็นด้วย ที่นี้ที่เราไปเดือดร้อน ไปยินดียินร้ายกับ รูปข้างนอกทั้งหมด เพราะเราไม่เห็นแจ้งตรงนี้ใช่ไหม เรา ยังสําคัญว่า มันมีรูปนี้สวย รูปนี้ไม่สวย นี้เป็นอย่างนั้น นี้เป็นอย่างนี้ถูกไหม แต่เราไม่เห็นถึงขบวนการภายในว่า มันไม่มีรูปพวกนี้เลย จริงไหม มันเป็นภาพเสมือน มัน เป็นรูปสัญญาในใจ เพราะนั้นเราไม่เห็นรูปข้างนอก เพราะ นั้นในรูปฌาน เมื่อจะขึ้นอรูปฌานต้องเพิกรูปไง เพิกรูป คือเพิกรูปสัญญา รูปสัญญาเป็นนามธรรมไม่ใช่รูปนะ นี่เพราะฉะนั้นนี่มันก็ไม่ได้เห็น ที่เห็นมันเป็นกระแสประสาท ทุกอย่างมันเป็นภาพเสมือนหมด

เพราะฉะนั้นความรู้ในใจ ถ้าเราเห็นแจ้ง อย่างเรา คิดถึงคนนี้ เราก็เป็นทุกข์ใจ เขาทิ้งเรา เราก็เสียใจ เพราะ เราหลงอะไร หลงว่าคนนี้มีอยู่ในใจเราใช่ไหม จริงไหม ถูกไหม แต่ถ้าเราใช้สติแยบคายเข้าไปจริงๆ ถามว่าตัว คนนี้มีอยู่ในใจเราจริงไหม สมมติว่าผู้หญิงคนหนึ่งรัก ผู้ชายมาก ทุกข์ใจ แต่ตัวผู้หญิงนั้นเล็กกว่าตัวผู้ชาย ถ้า ตัวผู้ชายนั้นมีอยู่ในใจผู้หญิง หนังที่หุ้มตัวผู้หญิงไว้จะ หุ้มตัวผู้ชายได้หมดไหม เพราะตัวผู้ชายมันใหญ่กว่า อัน นี้อาตมาให้ข้อคิด จริงไหม เพราะฉะนั้นที่เรารู้คือมัน เป็นภาพเสมือนในใจเราหมดน่ะ นี้เขาเรียกว่าอะไร เขา เรียกว่าสมมติมันเกิดในใจ ปรมัตถ์มันเป็นแค่นามธรรม ความรู้อันหนึ่งเฉยๆ มันไม่มีอยู่จริง เมื่อไม่มีอยู่จริง มันจะมีความไปรักไปยินดีไปยินร้ายอะไรไหม ถ้าเรา เห็นแจ้งอย่างนี้ชัดแจ้งจนประจักษ์แก่ใจเรา มันจะมี ราคะโทสะไหม เพราะอะไร เพราะมันไม่มีโมหะ เพราะ เราไม่หลงรูปเสมือนภาพในใจ เราไม่หลงภาพในใจเราเราก็ไม่หลงข้างนอก เพราะเรารู้แล้วว่าในใจเรามันไม่มี ภาพข้างนอก มันไม่มีข้างนอก มันเป็นภาพเสมือน

เหตุนั้นจะทัศนะให้ฟังอีกนิดหนึ่ง เวลาโยมไปดูหนัง โยมเห็นไหมเวลาแสงมันกระทบจอหนัง โยมเคยเห็นไหม แสงกระทบจอหนัง แล้วมันมีลําแสงถ่ายออกมา มันมีหนัง สงครามอย่างนี้ เวลามันรบกัน ไฟมันไหม้จอ หนังมัน ไหม้ไหม รถถังมันยิงตุ้มๆ ระเบิดมันมาลงหัวเราไหม ไม่ อันนั้นคืออะไร คือแสงกับจอหนังใช่ไหม แต่ภาพที่เกิด ทั้งหมดนั้นคืออะไร นั่นล่ะตัวสมมติ ในใจเราเหมือนกัน อย่างนั้นล่ะ ตัวจริงมันคือแค่จอหนังกับแสง เพราะถ้า เราเห็น ๒ ส่วนนี้ว่าภาพที่ปรากฏเป็นแค่ภาพเสมือน ภายนอก เพื่อสื่อภายนอก แต่ตัวจริงมันแค่อะไร ความ รู้อันหนึ่งกับใจที่มันรู้อยู่แค่นั้น ถ้าเราเห็นตรงนี้ มันก็ แยกสมมติปรมัตถ์ เมื่อมันไม่มี เราก็ไม่จําเป็นต้องไปหลง ไปยินดียินร้ายกับสมมติตรงนั้น เมื่อไม่ยินดียินร้ายสมมติ ตรงนั้น เมื่อไม่หลงก็เลยไม่ยินดียินร้าย ไม่ยินดียินร้าย ก็ไม่มีอุปาทาน ถูกไหม มันไม่หลงมันก็ไม่มีอุปาทาน มันก็ละอุปาทานตั้งแต่ต้น ไม่ได้ไปตั้งใจละนะ

เหตุนั้นในพระอภิธรรมท่านจึงบอกมรรคมันพ้น เจตนา พ้นอย่างนี้ต่างหาก เราไม่ได้ไปละอะไรสักอย่าง เราทําความเห็นให้มันตรง ให้มันชอบต่อสัจธรรม เห็น สัจธรรมตรงนั้น เมื่อเห็นตรงนั้น ความมืด เมื่อแสงสว่าง เกิดความมืดมันก็ไม่มี เราไม่ได้ไปลบความมืด แต่แสงสว่าง มันไปแทน ถูกไหม นั้นเมื่อสัมมาทิฏฐิ ปัญญามันเห็น แจ้งในใจ เห็นสมมติปรมัตถ์ตรงนี้ เมื่อมันเห็นแล้วมัน ไม่มีเป็นแค่สมมติ แล้วยินดียินร้ายมันจะมีไหม เพราะ มันไม่มีความหลงไง เมื่อไม่มีความหลง โลภะ โทสะก็ไม่มี ความเป็นตัวตนในนั้นก็ไม่มี ความพ้นทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นน่ะ

วันนี้ก็แนะนําคร่าวๆ ให้ไปขบคิดพิจารณาดูว่าจริง ไหม ถ้าจริงก็เอาไปประพฤติปฏิบัติ ทําสติ สมาธิ ทํา ตั้งแต่ตื่นนอนถึงลงนอน เผลอแล้ว แล้วไประลึกได้ เอาใหม่ ว่างๆ ก็รู้จักหัดยกขึ้นมาวิจัย ถ้ามีความทุกข์เกิด ก็ย้อนเข้าไปดูในใจเรา มันทุกข์เพราะอะไร เหตุมันคืออะไร เราหลงตรงไหน ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ อริยสัจ ๔ ก็เดินใน จิตเราตลอด วันข้างหน้าเราจะเห็นคุณของพระศาสนา เมื่อความพ้นทุกข์มันมาเยือน ก็ขอยุติแต่เพียงเท่านี้





































































1 ความคิดเห็น:

Siam Class : บันทึกสำหรับคนชอบสะสม แสตมป์ (Stamps)